วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ และค่านิยม
ภารกิจและอำนาจหน้าที่
1. ภารกิจและอำนาจหน้าที่ตามพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์
สำนักงานปศุสัตว์เขต 6 มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนางานด้านสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยสัตว์ การ
ควบคุม การป้องกัน การบำบัดโรคสัตว์ การชันสูตรโรคสัตว์ และระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์
2. ศึกษา วิเคราะห์และวิจัย เพื่อพัฒนางานด้านมาตรฐาน ตรวจสอบคุณภาพสินค้า
ปศุสัตว์ และส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการปศุสัตว์
3. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประยุกต์ ส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนางานด้าน
การผลิตสัตว์ อาหารสัตว์ และสุขภาพสัตว์
4. จัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติงานและการบูรณาการแผนด้านการปศุสัตว์
ในระดับเขตและระดับจังหวัด
5. ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษา แนะนำและกำกับการดำเนินงาน
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้ากฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และการจำหน่ายเนื้อสัตว์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องแก่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด
6. เป็นศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยโรคสัตว์ การักษาพยาบาลสัตว์และการ
ให้บริการสุขภาพสัตว์
7. เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านการปศุสัตว์และเศรษฐกิจปศุสัตว์
8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่
ได้รับมอบหมาย
2. ภารกิจและอำนาจหน้าที่โดยการรับมอบอำนาจ
กรมปศุสัตว์มีคำสั่งที่ 74/2555 ลงวันที่ 31 มกราคม 2555 เรื่องมอบอำนาจให้หัวหน้าหน่วยงานสังกัดส่วนกลาง แต่มีสำนักงานตั้งอยู่ในภูมิภาคปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมปศุสัตว์ และคำสั่งที่ 75/2555 ลงวันที่ 31 มกราคม 2555 เรื่องมอบอำนาจให้เป็นผู้อนุญาตใช้รถราชการ
โครงสร้างการบริหารงาน
สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย จัดอยู่ในราชการส่วนกลางตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค มีสายบังคับบัญชาขึ้นตรงอธิบดีกรมปศุสัตว์ มีการแบ่งโครงสร้างภายใน ออกเป็น 1 ฝ่าย 3 ส่วน ดังนี้
1. ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่
1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณและงานธุรการทั่วไป
2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการเงิน การบัญชี วัสดุ ครุภัณฑ์ การบริหารงานบุคคล งานติดต่อประสานงาน และงานสถิติข้อมูล
3. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน งบประมาณ และเร่งรัดติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนัก
2. ส่วนป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ มีหน้าที่
1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ด้านสุขศาสตร์สัตว์ การควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์
2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย รูปแบบวิธีการพัฒนา และกำหนดเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ในการดำเนินการด้านสุขศาสตร์สัตว์
3. ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแผนการปฏิบัติงานด้านสุขศาสตร์สัตว์ การควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ รวมทั้งควบคุมการดำเนินงานตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ สถานพยาบาลสัตว์ โรคพิษสุนัขบ้า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับผิดชอบ
4. เป็นศูนย์ระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
5. ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสุขศาสตร์สัตว์ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
3. ส่วนการรับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ มีหน้าที่
1. ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแผนการปฏิบัติงานด้านสุขอนามัยสินค้าจ้างการปศุสัตว์รวมทั้งการตรวจรับรองและควบคุมการดำเนินงานตามกฎหมายและมาตรฐานเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ยาสัตว์ สินค้าปศุสัตว์ สิ่งแวดล้อมจากการปศุสัตว์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ด้านการพัฒนา มาตรฐานการผลิต การตรวจสอบคุณภาพ สินค้าปศุสัตว์และส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการปศุสัตว์
3. ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการตรวจรับรอง และควบคุมคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
4. ศูนย์ปฏิบัติงานของหน่วยเฉพาะกิจ ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากการ
ปศุสัตว์ ตรวจสอบสินค้าปศุสัตว์ ยาสัตว์ อาหารสัตว์ในพื้นที่รับผิดชอบ
4. ส่วนศึกษาและพัฒนาการปศุสัตว์
1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประยุกต์ เกี่ยวกับการกำหนดเขตเศรษฐกิจการปศุสัตว์ และระบบการจัดการฟาร์ม พันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ สุขภาพสัตว์ สินค้าปศุสัตว์ รวมทั้งต้นทุนการผลิตและการตลาดที่เหมาะสมในพื้นที่รับผิดชอบ
2. ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา และสาธิตการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตสัตว์และการจัดการสุขภาพสัตว์ที่เหมาะสมในพื้นที่รับผิดชอบ
3. ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้คำปรึกษา แนะนำ ด้านการผลิตปศุสัตว์ และสินค้าปศุสัตว์ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน